ประกาศข่าว

ยินดีต้อนรับสู่โรงเรียนบ้านซำ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานปฐมวัย รอบ3

คำอธิบายตัวบ่งชี้
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
สมศ.มีแนวคิดและหลักการในการประเมินคุณภาพภายนอกตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติโดยมุ่งเน้นคุณภาพของเด็กเป็นหลัก เพื่อให้ความมั่นใจว่าเด็กจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะอยู่ท้องถิ่นใดก็ตาม การศึกษาปฐมวัยถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเด็กให้มีรากฐานสำหรับความสามารถ ทั้งปวงในชีวิตเพราะเป็นวัยที่ระบบประสาทและสมองกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและกำลังสร้างใยประสาท เชื่อมประสานกันระหว่างเซลล์สมอง ปฐมวัยจึงถือเป็นวัยต้นทุนของชีวิตที่จะนำสู่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพอย่าง เต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาในสถานศึกษาให้เด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้ต่างๆจะมีอิทธิพลต่อการวางรากฐานของการพัฒนาเด็กทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และ บุคลิกภาพ การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนและการดำเนินชีวิต ของเด็กต่อไป การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยจึงมีความสำคัญยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนา ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญาสมวัย เป็นพลเมืองไทยที่สามารถเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของตนเองและสังคม สามารถสืบสานวัฒนธรรม และสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคม ภูมิปัญญาได้อย่างเหมาะสมสืบไป ระบบการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม และ สนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
.๑ แนวคิดและทิศทางในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับการศึกษา ปฐมวัย (-๕ ปี)
. ประเมินอิงเกณฑ์ตามจุดเน้นของสถานศึกษา
. ประเมินจากผลการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการศึกษา ซึ่งหมายรวมถึงการจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการศึกษา และการประกันคุณภาพภายใน
. ประเมินโดยวิธีการและข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงพัฒนาการโดยพิชญพิจารณ์ (Peer Review)
. ประเมินโดยการยืนยันรายงานการประเมินตนเองที่ถูกต้องเชื่อถือได้ เพื่อกระตุ้นให้การประกันคุณภาพ ภายในมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
. ลดจำนวนตัวบ่งชี้และจำนวนมาตรฐานสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยถ่ายโอนตัวบ่งชี้และ มาตรฐานเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าและกระบวนการให้อยู่ในระบบการประกันคุณภาพภายใน
.๒ คำนิยามของกลุ่มตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (.. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) แบ่งเป็น ๓ กลุ่มตัวบ่งชี้ คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชื้อลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ดังนี้
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดี และมีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน เป็นการพัฒนามาจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกและรอบสอง ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ ๑-
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้น และจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ ๙ - ๑๐
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันชี้แนะ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็น ผู้ช่วยเหลือสังคมและ แก้ปัญหาสังคมของสถานศึกษา เช่น การปฏิรูปการศึกษา การส่งเสริมและสืบสานโครงการตามพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา การป้องกัน สิ่งเสพติด การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติภัย การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย การส่งเสริมความรักชาติและความเป็นไทย ฯลฯ โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษาให้การรับรองการกำหนดตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ และ ๑๒
.๓ หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (..๒๕๕๔-๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) ได้มีการพัฒนาตัวบ่งชี้ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ..๒๕๕๓ ข้อ ๓๘ ซึ่งกำหนดให้ สมศ.ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ ๑) มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา ๒) มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา ๓) มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ๔) มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน ดังนี้
. มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๖ ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๕ ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ๒ ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๑ ตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย
. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจสมวัย
. เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย
. เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย
. เด็กมีความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
. ผลการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ผลการดำเนินการโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
. มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๓๙ ระบุว่าให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๑ ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๑ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
. มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๒๔ ระบุว่าจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
. มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๔๘ ระบุว่าให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๑ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายใน
.๔ การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (..๒๕๕๔-๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) กำหนดให้มีตัวบ่งชี้พื้นฐาน จำนวน ๘ ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักรวม ๙๐ คะแนน ประกอบด้วย
- มาตรฐานที่ ๑ ผลการจัดการศึกษา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑-๕ มีค่าน้ำหนักรวม ๓๕ คะแนน
- มาตรฐานที่ ๒ การบริหารจัดการศึกษา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๗ มีค่าน้ำหนัก ๑๕ คะแนน
- มาตรฐานที่ ๓ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๖
มีค่าน้ำหนัก ๓๕ คะแนน
- มาตรฐานที่ ๔ การประกันคุณภาพภายใน ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๘ มีค่าน้ำหนัก ๕ คะแนน
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ มีจำนวน ๒ ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักรวม ๕ คะแนน และ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม มีจำนวน ๒ ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักรวม ๕ คะแนน
.๕ ข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ใช้ประกอบการพิจารณา
ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (..๒๕๕๔๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย ๓ ปีการศึกษาย้อนหลังก่อนการประเมิน (กรณีสถานศึกษาเปิดใหม่ที่มีการดำเนินงานไม่ครบ ๓ ปีการศึกษา ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย ๒ ปีการศึกษาล่าสุด หรือหากมีการดำเนินงานไม่ครบ ๒ ปีการศึกษา ให้ใช้ผลการดำเนินงาน ๑ ปีการศึกษาล่าสุดก่อนการประเมิน)


.๖ รูปแบบการประเมิน
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (.. ๒๕๕๔๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) มีรูปแบบการประเมิน ๔ รูปแบบ ดังนี้
. การประเมินเชิงปริมาณ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.-. , .-. , .-. , .-. , .-.
. การประเมินเชิงปริมาณและเชิงพัฒนาการ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๘.
. การประเมินเชิงคุณภาพ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๖.-. , .-. , . , , ๑๐ และ ๑๒
. การประเมินเชิงคุณภาพและการพิจารณาผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น(Better)ได้แก่ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑
.๗ กลุ่มตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี)
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.. ๒๕๕๓ ครอบคลุมมาตรฐานว่าด้วย
) ผลการจัดการศึกษา
) การบริหารจัดการศึกษา
) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
) การประกันคุณภาพภายใน
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (.. ๒๕๕๔๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) ประเมินมาตรฐานตามกฎกระทรวงฯ โดยประกอบด้วย ๓ กลุ่มตัวบ่งชี้ คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน (๘ ตัวบ่งชี้) กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ (๒ ตัวบ่งชี้) และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม (๒ ตัวบ่งชี้) มีจำนวนรวมทั้งหมด ๑๒ ตัวบ่งชี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น