ประกาศข่าว

ยินดีต้อนรับสู่โรงเรียนบ้านซำ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จุดเน้น10จุดเน้น

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ4
  2. นักเรียนชั้น ป.3 ทุกคนอ่านออกเขียนได้
  3. เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านภาษา คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติ
  5. สร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้เข้าถึงดอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน เพิมอัตราการเรียนต่อและการประกอบอาชีพ
  6. ส่งเสริมการจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยขยายผลการจัดการศึกษาพอเพียงต้นแบบ
  7. นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
  8. นักเรียน ครู และสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซี่ยน
  9. สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและผ่านการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอก
  10. สำนักงานเชตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกรฑ์มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

กลยุทธ์

1.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
2.ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในการเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.ขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุมผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
4.พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีมีคุณภาพ
5.พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
6.พัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

พันธกิจ

1.พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์โดยส่ง้สริมการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2.พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอแกความต้องการของผู้เรียนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอน
3.พัฒนาครูและบุคลากรให้จัดการเรียนการสอนให้มีประมิทธิภาพและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์
โรงเรียนปฏิรูปมาตรฐาน พัฒนาวิชาการและเทคโนโลยี นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม

วิสัยทัศน์

โรงเรียนปฏิรูปมาตรฐาน พัฒนาวิชาการและเทคโนโลยี นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม

ประวัติสถานศึกษา



ประวัติสถานศึกษา
                โรงเรียนบ้านซำ  ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 10 มกราคม พ..2512 โดยมีนางยา แต้มงาม เป็นผู้บริจาค ที่ดินจำนวน 8ไร่ ให้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียน
                วันที่ 1 เมษายน พ.. 2512   นายนิรันดร์ชาติประสพ นายอำเภอขุนหาญ นานทวีป อทาโส ปลัดอำเภอขุนหาญ นายถวัลย์ โพธิสาร กำนันตำบลขุนหาญ (ปัจจุบันแยกเป็นตำบลโพธิ์กระสังข์)นายพรหมมา สุระบุตร ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์ พร้อมด้วยคณะครู ราษฎรหมู่ที่5,6 และ12 ได้มาร่วมประชุม ในที่ประชุมได้ตกลงพร้อมใจกันหาอุปกรณ์ในการก่อสร้าง โดยไม่ได้ของบประมาณของทางราชการ
                วันที่11พฤษภาคม พ..2512 นายนิรันดร์  ชาติประสพ  นายอำเภอขุนหาญมาเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์
                วันที่10 มิถุนายน พ..2512   ได้ติดต่อขอรับบริจาคสังกระสีและได้รับความอนุเคราะห์ จากหน่วย ก... บ้านตูม  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน 215 แผ่น
                วันที่ 6  ตุลาคม  ..2512   นายนิรัดร์  ชาติประสพ  นายอำเภอขุนหาญ มาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายชื่อ โรงเรียนบ้านซำ โดยแยกนักเรียนจากโรงเรียนบ้านโพธิ์ จำนวนทั้งสิ้น150คน เปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1-4
                สถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านซำ ตั้งอยู่ที่บ้านซำ หมู่ที่7 ตำบลโพธ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอขุนหาญ ระยะทางจากโรงเรียนถึงอำเภอขุนหาญ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากโรงเรียนถึงจังหวัดศรีสะเกษ 60 กิโลเมตร พื้นที่ของโรงเรียน 8ไร่ หมู่บ้านที่อยู่เขตบริการของโรงเรียนคือ บ้านซำ หมู่ที่      7 และบ้านตาตา หมู่ที่1
                การคมนาคมติดต่อกับภายนอก การคมนาคมได้ทางเดียวคือ ทางบก ในฤดูฝนติดต่อยากลำบาก ไม่มีรถประจำทาง ทางจังหวัดศรีสะเกษให้เป็นหมู่บ้านยากจนและล้าหลังของจังหวัด


ข้อมูลทั่วไป



ข้อมูลทั่วไป
                สถานที่ตั้ง   โรงเรียนบ้านซำตั้งอยู่   บ้านซำ หมู่ที่ 7   ตำบลโพธิ์กระสังข์    อำเภอขุนหาญ
จังหวัดศรีสะเกษ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต4 มีเนื้อที่  9  ไร่ 3 งาน  42.2 ตาราวา
ระยะทางจากโรงเรียนถึงอำเภอขุนหาญ 12   กิโลเมตร   ระทางจากโรงเรียน ถึง  จังหวัดศรีสะเกษ 60 กิโลเมตรระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต4        
.40   กิโลเมตร  หมู่บ้านที่อยู่เขตบริการของโรงเรียนคือ บ้านซำ หมู่ที่ 7 และ บ้านตาตา  หมู่ที่ 1 อานาเขตติดต่อกับหมู่บ้านข้างเคียงดังนี้
                ทิศเหนือ     ติดต่อกับบ้านโพธิ์กระสังข์   ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ
                ทิศตะวันออก   ติดต่อกับบ้านดู่   ตำบลขุนหาญ   อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ
                ทิศตะวันตก   ติดต่อกับบ้านสดำ  ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ
                ทิศใต้     ติดต่อกับบ้านกันทรอม ตำบลกันทรอม  อำเภอขุนหาญ   จังหวัดศรีสะเกษ
ระดับที่จัดสอน
                ปัจจุบันโรงเรียนบ้านซำ ตำบลโพธิ์กระสังข์  อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต4 เปิดทำการเรียนการรสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล1ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6 โดยมีจำนวนนักรัยนชาย79คน นักเรียนหญิง 61 คน รวมทั้งสิ้น 140คน มีข้าราชการครูชาย 3คน ข้าราชการครูหญิง6 คน รวมทั้งสิ้น 9คน พนักงานราชการ 1คน ครูอัตราจ้าง 1คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ1คนและช่างครุภัณฑ์ 1คน
เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน
                ชุมชนที่อยู่ในเขตบริการของโรงเรียน มี 2หมู่บ้าน คือ
1.             บ้านตาตา หมู่ที่ 1
2.             บ้านซำ หมู่ที่ 7
ประวัติสถานศึกษา
                โรงเรียนบ้านซำ  ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 10 มกราคม พ..2512 โดยมีนางยา แต้มงาม เป็นผู้บริจาค ที่ดินจำนวน 8ไร่ ให้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียน
                วันที่ 1 เมษายน พ.. 2512   นายนิรันดร์ชาติประสพ นายอำเภอขุนหาญ นานทวีป อทาโส ปลัดอำเภอขุนหาญ นายถวัลย์ โพธิสาร กำนันตำบลขุนหาญ (ปัจจุบันแยกเป็นตำบลโพธิ์กระสังข์)นายพรหมมา สุระบุตร ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์ พร้อมด้วยคณะครู ราษฎรหมู่ที่5,6 และ12 ได้มาร่วมประชุม ในที่ประชุมได้ตกลงพร้อมใจกันหาอุปกรณ์ในการก่อสร้าง โดยไม่ได้ของบประมาณของทางราชการ
                วันที่ 11 พฤษภาคม พ..2512   นายนิรันดร์  ชาติประสพ  นายอำเภอขุนหาญมาเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์
                วันที่ 10  มิถุนายน พ..2512   ได้ติดต่อขอรับบริจาคสังกระสี และได้รับความอนุเคราะห์ จากหน่วย ก..
บ้านตูม  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน 215 แผ่น
                วันที่ 6  ตุลาคม  ..2512   นายนิรัดร์  ชาติประสพ  นายอำเภอขุนหาญ มาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายชื่อ 
 โรงเรียนบ้านซำ โดยแยกนักเรียนจากโรงเรียนบ้านโพธิ์ จำนวนทั้งสิ้น 150  คน เปิดทำการเรียนการสอน 
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1-4
                สถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านซำ   ตั้งอยู่ที่บ้านซำ   หมู่ที่  7   ตำบลโพธ์กระสังข์    อำเภอขุนหาญ    จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอขุนหาญ  ระยะทางจากโรงเรียนถึงอำเภอขุนหาญ 12 กิโลเมตร    ระยะทางจากโรงเรียนถึงจังหวัดศรีสะเกษ 60 กิโลเมตร พื้นที่ของโรงเรียน 8ไร่ หมู่บ้านที่อยู่เขตบริการของโรงเรียนคือ บ้านซำ หมู่ที่    7 และ
บ้านตาตา หมู่ที่  1
                การคมนาคมติดต่อกับภายนอก การคมนาคมได้ทางเดียวคือ ทางบก ในฤดูฝนติดต่อยากลำบาก ไม่มีรถประจำทาง ทางจังหวัดศรีสะเกษให้เป็นหมู่บ้านยากจนและล้าหลังของจังหวัด




วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เพลงอาเซี่ยน


มาตรฐานปฐมวัย รอบ3

คำอธิบายตัวบ่งชี้
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
สมศ.มีแนวคิดและหลักการในการประเมินคุณภาพภายนอกตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติโดยมุ่งเน้นคุณภาพของเด็กเป็นหลัก เพื่อให้ความมั่นใจว่าเด็กจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะอยู่ท้องถิ่นใดก็ตาม การศึกษาปฐมวัยถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเด็กให้มีรากฐานสำหรับความสามารถ ทั้งปวงในชีวิตเพราะเป็นวัยที่ระบบประสาทและสมองกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและกำลังสร้างใยประสาท เชื่อมประสานกันระหว่างเซลล์สมอง ปฐมวัยจึงถือเป็นวัยต้นทุนของชีวิตที่จะนำสู่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพอย่าง เต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาในสถานศึกษาให้เด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้ต่างๆจะมีอิทธิพลต่อการวางรากฐานของการพัฒนาเด็กทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และ บุคลิกภาพ การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนและการดำเนินชีวิต ของเด็กต่อไป การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยจึงมีความสำคัญยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนา ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญาสมวัย เป็นพลเมืองไทยที่สามารถเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของตนเองและสังคม สามารถสืบสานวัฒนธรรม และสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคม ภูมิปัญญาได้อย่างเหมาะสมสืบไป ระบบการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม และ สนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
.๑ แนวคิดและทิศทางในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับการศึกษา ปฐมวัย (-๕ ปี)
. ประเมินอิงเกณฑ์ตามจุดเน้นของสถานศึกษา
. ประเมินจากผลการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการศึกษา ซึ่งหมายรวมถึงการจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการศึกษา และการประกันคุณภาพภายใน
. ประเมินโดยวิธีการและข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงพัฒนาการโดยพิชญพิจารณ์ (Peer Review)
. ประเมินโดยการยืนยันรายงานการประเมินตนเองที่ถูกต้องเชื่อถือได้ เพื่อกระตุ้นให้การประกันคุณภาพ ภายในมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
. ลดจำนวนตัวบ่งชี้และจำนวนมาตรฐานสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยถ่ายโอนตัวบ่งชี้และ มาตรฐานเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าและกระบวนการให้อยู่ในระบบการประกันคุณภาพภายใน
.๒ คำนิยามของกลุ่มตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (.. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) แบ่งเป็น ๓ กลุ่มตัวบ่งชี้ คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชื้อลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ดังนี้
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดี และมีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน เป็นการพัฒนามาจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกและรอบสอง ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ ๑-
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้น และจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ ๙ - ๑๐
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันชี้แนะ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็น ผู้ช่วยเหลือสังคมและ แก้ปัญหาสังคมของสถานศึกษา เช่น การปฏิรูปการศึกษา การส่งเสริมและสืบสานโครงการตามพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา การป้องกัน สิ่งเสพติด การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติภัย การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย การส่งเสริมความรักชาติและความเป็นไทย ฯลฯ โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษาให้การรับรองการกำหนดตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ และ ๑๒
.๓ หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (..๒๕๕๔-๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) ได้มีการพัฒนาตัวบ่งชี้ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ..๒๕๕๓ ข้อ ๓๘ ซึ่งกำหนดให้ สมศ.ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ ๑) มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา ๒) มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา ๓) มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ๔) มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน ดังนี้
. มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๖ ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๕ ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ๒ ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๑ ตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย
. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจสมวัย
. เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย
. เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย
. เด็กมีความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
. ผลการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ผลการดำเนินการโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
. มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๓๙ ระบุว่าให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๑ ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๑ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
. มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๒๔ ระบุว่าจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
. มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕ มาตรา ๔๘ ระบุว่าให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประเมินมาตรฐานนี้ด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๑ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายใน
.๔ การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (..๒๕๕๔-๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) กำหนดให้มีตัวบ่งชี้พื้นฐาน จำนวน ๘ ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักรวม ๙๐ คะแนน ประกอบด้วย
- มาตรฐานที่ ๑ ผลการจัดการศึกษา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑-๕ มีค่าน้ำหนักรวม ๓๕ คะแนน
- มาตรฐานที่ ๒ การบริหารจัดการศึกษา ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๗ มีค่าน้ำหนัก ๑๕ คะแนน
- มาตรฐานที่ ๓ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๖
มีค่าน้ำหนัก ๓๕ คะแนน
- มาตรฐานที่ ๔ การประกันคุณภาพภายใน ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๘ มีค่าน้ำหนัก ๕ คะแนน
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ มีจำนวน ๒ ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักรวม ๕ คะแนน และ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม มีจำนวน ๒ ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักรวม ๕ คะแนน
.๕ ข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ใช้ประกอบการพิจารณา
ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (..๒๕๕๔๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย ๓ ปีการศึกษาย้อนหลังก่อนการประเมิน (กรณีสถานศึกษาเปิดใหม่ที่มีการดำเนินงานไม่ครบ ๓ ปีการศึกษา ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย ๒ ปีการศึกษาล่าสุด หรือหากมีการดำเนินงานไม่ครบ ๒ ปีการศึกษา ให้ใช้ผลการดำเนินงาน ๑ ปีการศึกษาล่าสุดก่อนการประเมิน)


.๖ รูปแบบการประเมิน
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (.. ๒๕๕๔๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) มีรูปแบบการประเมิน ๔ รูปแบบ ดังนี้
. การประเมินเชิงปริมาณ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.-. , .-. , .-. , .-. , .-.
. การประเมินเชิงปริมาณและเชิงพัฒนาการ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๘.
. การประเมินเชิงคุณภาพ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๖.-. , .-. , . , , ๑๐ และ ๑๒
. การประเมินเชิงคุณภาพและการพิจารณาผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น(Better)ได้แก่ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑
.๗ กลุ่มตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี)
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.. ๒๕๕๓ ครอบคลุมมาตรฐานว่าด้วย
) ผลการจัดการศึกษา
) การบริหารจัดการศึกษา
) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
) การประกันคุณภาพภายใน
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (.. ๒๕๕๔๒๕๕๘) ระดับการศึกษาปฐมวัย (-๕ ปี) ประเมินมาตรฐานตามกฎกระทรวงฯ โดยประกอบด้วย ๓ กลุ่มตัวบ่งชี้ คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน (๘ ตัวบ่งชี้) กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ (๒ ตัวบ่งชี้) และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม (๒ ตัวบ่งชี้) มีจำนวนรวมทั้งหมด ๑๒ ตัวบ่งชี้